มารู้คำสแลงในภาษาไทยยุค 2012 กันเถอะ
เนื่องจากภาษาไทยสมัยนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นภาษาวิบัติจึงทำให้ ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยไม่เข้าใจความหมายและไม่สามารถเปิดหาคำศัพท์เหล่านี้ได้
เกรียน  (เกรียน)  นาม (n.) = เป็นศัพท์สแลงแทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน ไร้เหตุผล หรือคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคมอินเทอร์เน็ต บุคคลกลุ่มนี้จะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลหรือการวิเคราะห์ไตร่ตรอง
กิ๊ก  (กิ๊ก)  สรรพนาม (pro.) = บุคคลที่มีความสัมพันธ์อย่างคู่รัก แต่ไม่ใช่คู่รัก
กาก (กาก)  คุณศัพท์ (adj.) = อ่อนหรือทำอะไรไม่ได้เรื่อง
แหล่ม  (แหล่ม)  อุทาน (in.) = แจ่ม, เด็ด, เยี่ยม
ตัวอย่างเช่น ดูผู้หญิงคนนี้ดิ แหล่มเลย
เนียน  (เนียน)  คุณศัพท์ (adj.) = ทำเป็นเฉย  ไม่รู้ไม่สน  ส่วนใหญ่ใช้กับการแฝงตัว หรือกลบเกลื่อน
รั่ว  (รั่ว)  คุณศัพท์ (adj.) = ติงต๊อง บ้าๆบอๆ ทำตัวหลุดโลกสุดๆ
ตัวอย่างเช่น “เห็นแคทเขาเป็นเด็กเรียนอย่างงี้อะนะ แต่พอตอนทำกิจกรรมนี่รั่วสุดๆเลยล่ะ”
เหียก  (เหียก)  คุณศัพท์ (adj.) = หน้าตาขี้เหร่มากๆ
ตัวอย่างเช่น “นี่เธอ แน่ใจเหรอว่าจะคบกับอีตาคนนี้ นิสัยก็ไม่ดี แถมหน้าตายังเหียกมากๆเลยนะ”
ควายงง  (ควาย-งง)  คุณศัพท์ (adj.) = เป็นคำด่าว่าโง่มาก ไม่ค่อยฉลาด
ตัวอย่างเช่น  “อย่าไปถามหล่อนเลย หล่อนเป็นพวกควายงง เรื่องเลขมาถามชั้นนี่”
ชิว-ชิว คุณศัพท์ (adj.) = เล็กๆ สบายๆ
แอ๊บแบ๊ว คุณศัพท์ (adj.) = คือสิ่งที่วัยรุ่นและเกรียนทั่วหล้ากำลังนิยมกัน  เป็นคำผสมระหว่างคำว่า แอ๊บนอร์มอล (abnormal) ใน
ภาษาอังกฤษที่แปลว่า ผิดปกติรวมกับคำว่า “บ้องแบ๊ว


บทความที่ 3 ภาษาสุภาพ - ไม่สุภาพ

การใช้ภาษาสุภาพ-ไม่สุภาพ
          ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาหลายประการในที่นี้จะกล่าวถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคำสุภาพและไม่สุภาพซึ่งปรากฏชัดในการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นระเบียบแบบแผน
เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพที่ชัดเจนนอกจากนั้นคนไทยยังกำหนดรายละเอียดว่าเรื่องใดถ้อยคำใดที่ควรพูดหรือไม่ควรพูด หยาบคายหรือสุภาพ เป็นคำพูดอย่างขี้ข้าหรืออย่างผู้ดีอีกด้วยซึ่งการใช้คำพูดอย่างขี้ข้าหรือผู้ดีในที่นี้ไม่ได้เป็นการวัดกันด้วยฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจแต่อย่างใดแต่วัดกันด้วยวัฒนธรรมวัดกันด้วยความรู้มากกว่าว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด อะไรเสียหาย อะไรไม่เสียหาย
          ในปัจจุบันคนไทยจะคำนึงถึงการใช้ภาษาสุภาพไม่สุภาพน้อยลง ทั้งนี้อาจเกิดจากความไม่สนใจและไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยมากนัก อีกทั้งอาจเกิดจากสภาพสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบันมีส่วนทำให้คนในสังคมสนใจแต่เฉพาะสารที่ต้องการสื่อเท่านั้น เพราะต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารวัฒนธรรมในการใช้ภาษาโดยเฉพาะการใช้ภาษาสุภาพไม่สุภาพจึงถูกละเลยไป
ทั้งนี้หากการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนั้น เกิดจากความไม่รู้หรือความสับสน เพราะไม่เคยใช้หรือไม่มีโอกาสใช้ภาษาดังกล่าวผู้ใช้ก็สามารถเรียนรู้การใช้ภาษาอย่างสุภาพต่อไปได้ แต่การใช้ภาษาที่

ไม่สุภาพที่เกิดจากเจตนาของผู้ใช้ตั้งใจใช้เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขและควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง และผู้ใช้ก็ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติและทำความเข้าใจภาษาให้ถูกต้องต่อไปด้วยทั้งนี้จะเป็นการช่วยธำรงภาษาไทยอันดีงามไว้ได้ทางหนึ่ง