การใช้ภาษาไทยวิบัติ
ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการดัดแปลง และไม่ตรงกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่าภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย และการใช้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมหรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากคำเดิม
ในปัจจุบันเด็กไทยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยลง แต่จะไปให้ความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เห็นได้จากคะแนนวิชาภาษาไทยในการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าวิชาอื่นๆจนน่าใจหาย จากข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่คำว่าภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะอาชีพที่เป็นศัพท์สแลง
คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี มีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย ขณะที่คำว่า "อุบัติ" เป็นภาษาบาลีเช่นกันมีความหมายว่า "เกิดขึ้น"
๒. ที่มาของภาษาไทยวิบัติ
ภาษาวิบัติ เป็นภาษาที่นิยมใช้ในหมู่วัยรุ่นปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากการส่งเอสเอมเอสหรือข้อความสั้นๆ การส่งอีเมล์ การสนทนาออนไลน์(เอมเอสเอน) หรือการแสดงความคิดเห็นในโลกอินเตอร์เน็ต จนเดี๋ยวนี้ภาษาวิบัติถูกใช้อย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นภาษาทาง การของวัยรุ่นไปซะแล้ว โดยไม่ได้รู้เลยว่า ต้นกำเนิดของภาษาไทยวิบัติ ว่าที่จริงแล้วเริ่มต้นมาจากการต่อรองค่าตัวของ “โสเภณี”
ในสมัยที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังมีการซื้อขายบริการทางเพศอย่างเสรีในเว็บไซต์ จะมีการพูดคุยกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเป็นที่รู้กัน ว่าส่วนมากผู้ที่ทำอาชีพนี้ มักจะมีการศึกษาต่ำและวิถีชีวิตที่แร้นแค้น ( คือหมดหนทางในการทำมาหากินแล้ว ) จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พวกเธอจะสะกดคำบางคำได้ไม่ถูกต้อง เช่นคำว่า ก็ สะกดเป็นคำว่า ก้อ , คำว่า เป็น สะกด เป็น คำว่า เปน , คำว่า จริง สะกดเป็นคำว่า จิง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด ภาษาไทยวิบัติที่ใช้ในหมู่ผู้ซื้อ-ขายบริการทางเพศจึงได้แพร่หลายในหมู่วัยรุ่น สังคมออนไลน์ และมีการนำไปใช้ในหนังสือหลายประเภทอย่าง ผิดๆ ทั้งที่หลายคนก็มีปัญญาความรู้และการศึกษาที่ดีพอที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรคือ ผิดอะไรคือ ถูก
๓. ลักษณะของภาษาไทยวิบัติ อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้
๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียง ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น
สนุ้กเกอร์ → สนุ๊กเกอร์
๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น
หนู→ นู๋
ผม → ป๋ม
ใช่ไหม → ชิมิ
เป็น → เปง
ก็ → ก้อ
ค่ะ,ครับ → คร่ะ,คับ
เสร็จ → เสด
จริง → จิง
เปล่า → ปล่าว,ป่าว,เป่า
มหาวิทยาลัย → มหา’ลัย ,มหาลัย
โรงพยาบาล → โรงบาล
๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน เช่น
ใช่ไหม → ใช่มั้ย
๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ เช่น
ไม่ → ม่าย
ไปไหน → ปายหนาย
นะ → น้า
ค่ะ,ครับ →คร่า,คร๊าบ
จ้ะ → จร้า
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง → ตะเอง
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง → ตะเอง
๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
เธอ → เทอ
ใจ → จัย
ไง → งัย
กรรม → กำ
๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์
กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์
กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
รู้ → รุ้
เห็น → เหน
เป็น → เปน
๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)
๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)
เทพ → Inw
นอน → uou
เกรียน → เกรีeu
แทงแรงแรง → IInJIISJIISJ
บทความที่ 2 คำสแลงในภาษาไทย
มารู้คำสแลงในภาษาไทยยุค 2012 กันเถอะ
เนื่องจากภาษาไทยสมัยนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นภาษาวิบัติจึงทำให้ ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยไม่เข้าใจความหมายและไม่สามารถเปิดหาคำศัพท์เหล่านี้ได้
เกรียน (เกรียน) นาม (n.) = เป็นศัพท์สแลงแทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน ไร้เหตุผล หรือคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคมอินเทอร์เน็ต บุคคลกลุ่มนี้จะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลหรือการวิเคราะห์ไตร่ตรอง
กิ๊ก (กิ๊ก) สรรพนาม (pro.) = บุคคลที่มีความสัมพันธ์อย่างคู่รัก แต่ไม่ใช่คู่รัก
กาก (กาก) คุณศัพท์ (adj.) = อ่อนหรือทำอะไรไม่ได้เรื่อง
แหล่ม (แหล่ม) อุทาน (in.) = แจ่ม, เด็ด, เยี่ยม
ตัวอย่างเช่น ดูผู้หญิงคนนี้ดิ แหล่มเลย
เนียน (เนียน) คุณศัพท์ (adj.) = ทำเป็นเฉย ไม่รู้ไม่สน ส่วนใหญ่ใช้กับการแฝงตัว หรือกลบเกลื่อน
รั่ว (รั่ว) คุณศัพท์ (adj.) = ติงต๊อง บ้าๆบอๆ ทำตัวหลุดโลกสุดๆ
ตัวอย่างเช่น “เห็นแคทเขาเป็นเด็กเรียนอย่างงี้อะนะ แต่พอตอนทำกิจกรรมนี่รั่วสุดๆเลยล่ะ”
เหียก (เหียก) คุณศัพท์ (adj.) = หน้าตาขี้เหร่มากๆ
ตัวอย่างเช่น “นี่เธอ แน่ใจเหรอว่าจะคบกับอีตาคนนี้ นิสัยก็ไม่ดี แถมหน้าตายังเหียกมากๆเลยนะ”
ควายงง (ควาย-งง) คุณศัพท์ (adj.) = เป็นคำด่าว่าโง่มาก ไม่ค่อยฉลาด
ตัวอย่างเช่น “อย่าไปถามหล่อนเลย หล่อนเป็นพวกควายงง เรื่องเลขมาถามชั้นนี่”
ชิว-ชิว คุณศัพท์ (adj.) = เล็กๆ สบายๆ
แอ๊บแบ๊ว คุณศัพท์ (adj.) = คือสิ่งที่วัยรุ่นและเกรียนทั่วหล้ากำลังนิยมกัน เป็นคำผสมระหว่างคำว่า แอ๊บนอร์มอล (abnormal) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า ผิดปกติรวมกับคำว่า “บ้องแบ๊ว
บทความที่ 3 ภาษาสุภาพ - ไม่สุภาพ
การใช้ภาษาสุภาพ-ไม่สุภาพ
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาหลายประการในที่นี้จะกล่าวถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคำสุภาพและไม่สุภาพซึ่งปรากฏชัดในการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นระเบียบแบบแผน
เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพที่ชัดเจนนอกจากนั้นคนไทยยังกำหนดรายละเอียดว่าเรื่องใดถ้อยคำใดที่ควรพูดหรือไม่ควรพูด หยาบคายหรือสุภาพ เป็นคำพูดอย่างขี้ข้าหรืออย่างผู้ดีอีกด้วยซึ่งการใช้คำพูดอย่างขี้ข้าหรือผู้ดีในที่นี้ไม่ได้เป็นการวัดกันด้วยฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจแต่อย่างใดแต่วัดกันด้วยวัฒนธรรมวัดกันด้วยความรู้มากกว่าว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด อะไรเสียหาย อะไรไม่เสียหาย
ในปัจจุบันคนไทยจะคำนึงถึงการใช้ภาษาสุภาพไม่สุภาพน้อยลง ทั้งนี้อาจเกิดจากความไม่สนใจและไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยมากนัก อีกทั้งอาจเกิดจากสภาพสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบันมีส่วนทำให้คนในสังคมสนใจแต่เฉพาะสารที่ต้องการสื่อเท่านั้น เพราะต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารวัฒนธรรมในการใช้ภาษาโดยเฉพาะการใช้ภาษาสุภาพไม่สุภาพจึงถูกละเลยไป
ทั้งนี้หากการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนั้น เกิดจากความไม่รู้หรือความสับสน เพราะไม่เคยใช้หรือไม่มีโอกาสใช้ภาษาดังกล่าวผู้ใช้ก็สามารถเรียนรู้การใช้ภาษาอย่างสุภาพต่อไปได้ แต่การใช้ภาษาที่
ไม่สุภาพที่เกิดจากเจตนาของผู้ใช้ตั้งใจใช้เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขและควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง และผู้ใช้ก็ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติและทำความเข้าใจภาษาให้ถูกต้องต่อไปด้วยทั้งนี้จะเป็นการช่วยธำรงภาษาไทยอันดีงามไว้ได้ทางหนึ่ง
บทความที่ 4 คำอุทาน
คือ คำอุทาน หมายถึง คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด
คำอุทานแบ่งเป็น ๒ จำพวก ดังนี้
๑. อุทานบอกอาการคือ คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมา เพื่อให้รู้จักอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย !(อัศเจรีย์) กำกับไว้หลังคำนั้น เช่น
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
๑. แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว ได้แก่ แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
๒. แสดงอาการโกรธเคือง ได้แก่ เหม่ !,อุเหม่!,ฮึ่ม!,ชิชะ!,ดูดู๋! ๓.แสดงอาการตกใจ ได้แก่ ว้าย!,ตาย !,ช่วยด้วย !,คุณพระช่วย! ๔.แสดงอาการประหลาดใจ ได้แก่ ฮ้า !,แหม!,โอ้โฮ!,แม่เจ้าโว้ย! ๕.แสดงอาการสงสารหรือปลอบโยน ได้แก่ โถ!,โธ่!,อนิจจัง!,พุทโธ่! ๖.แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้ เช่น อือ!,อ้อ!,เออ!,เออน่ะ! ๗.แสดงอาการเจ็บปวด เช่น อุ๊ย!,โอย!,โอ๊ย! ๘.แสดงอาการดีใจ เช่น ไชโย! |
๒. คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
|
๑.คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือ,หนังหา,ส้มสุกลูกไม้,กางกุ้งกางเกง ฯลฯ
๒.คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์ เพื่อให้เกิดความสละสลวยและให้มีคำครบถ้วนตามต้องการในคำประพันธ์นั้นๆ คำอุทานชนิดนี้ใช้ เฉพาะในคำประพันธ์ ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา เช่น อ้า ,โอ้ ,โอ้ว่า,แล,นา ,ฤา ,แฮ,เอย ,เฮย ฯลฯ
บทความที่ 5 ศัพท์วัยรุ่น
วัยรุ่นถือเป็นวัยแห่งสีสัน ต้องการอิสระ ต้องการการยอมรับในสังคม ต้องการแสดงออกถึงความเป็นตัวตน เสื้อผ้าหน้าผมของพวกเขาจึงมีความเป็นเฉพาะกลุ่ม ชนิดที่บางครั้งผู้ใหญ่มองแล้วต้องเบือนหน้าหนีด้วยความรับไม่ได้
แต่นอกเหนือจากการแสดงตัวตนผ่านเสื้อผ้าหน้าผมแล้วภาษาก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่วัยรุ่นใช้แสดงออกถึงตัวตนของพวกเขา หลาย ๆ คำอาจฟังดูแปลก ๆ คนนอกกลุ่มหรือผู้ใหญ่ ได้แต่ทำหน้าสงสัย เพราะไม่เข้าใจความหมาย คำศัพท์วัยรุ่น ฮิต ๆ ส่วนหนึ่ง พร้อมความหมาย ของกลุ่มวัยรุ่นมาไว้ จิ้น = จินตนาการ ค่อนไปในทางชู้สาว เช่น "ฉันเห็น แมน กับ ต้น จับมือกันอะ เห็นแล้วจิ้นไปไกลเลยอะ" ฟิน = เป็นอารมณ์ที่เห็นอะไรที่มัน “สุดยอด” เป็นอารมณ์สุดขีดในตอนนั้น ปลวก = พวกอยู่ไม่นิ่ง ชอบเรียกร้องความสนใจให้ตัวเอง เหมือนปลวกที่ชอบสร้างรังตลอดเวลา และอาจรวมไปถึงพวกชอบจิกกัดคนอื่น ติ่ง = แฟนคลับเกาหลีที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีมารยาท ไม่สนใจความเป็นไปของโลกนอกจากศิลปินของตัวเอง ซึน (ซึนเดเระ) = พวกไม่พูดตรงๆ ชอบเก็บอาการ เสแสร้ง เฮียก = น่าเกลียด ขี้เหร่มาก ขี้เม้ง = พวกที่ชอบวีน ขี้โวยวาย ด่าเก่ง ปากจัด หน้าตาบูดบึ้ง อิม = มาจาก impossible หมายถึง พวกเด็กเรียน คือสามารถทำเรื่อง (เรียน) ที่ยาก ๆ ที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ อีนี่หลายอย่าง = คนคนนี้เป็นทั้งผู้ชาย เกย์ กะเทย แต๋ว และตุ๊ด อบกบ = ไม่ หล่อเกิร์ป = โง่ แบบ ควาย บทความที่ 6 คำราชาศัพท์
คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้
ที่มาของคำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
บทความที่ 7 ภาษาอังกฤษในภาษาไทย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง ในขณะ เดียวกันก็มีลักษณะ บางประการเหมือนภาษาคำโดด และภาษาคำติดต่อปนอยู่ เมื่อภาษาอังกฤษ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ โดยการ ทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปล ใช้คำสันสกฤตแปล ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทย และเปลี่ยนความหมาย
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทย
วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1. การแปลศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์ หมายถึง การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน (ปราณี กุลละวณิชย์ และอื่น ๆ, 2535, หน้า 67) การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความห
2. การบัญญัติศัพท์ การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่ เพื่อใช้สื่อสาร โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย มายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป
3. การทับศัพท์
การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียง และถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษ โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป
บทความที่ 8 ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย
เหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยว่า เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ สรุปได้ดังนี้
2.ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม อินเดียเป็นประเทศที่เจริญทางด้านวัฒนธรรมมานาน อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของอินเดียมีต่อนานาประเทศทางภาคพื้นตะวันออกก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะเข้ามา ไทยได้รับอิทธิพลของอินเดียทุกสาขา 3.ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต และศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่ศาสนา ไทยได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และรับคติของศาสนาพราหมณ์มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาจึงมีศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวกับวรรณคดีเหล่านี้เข้ามามากมาย เช่น ครุฑ สุเมรู หิมพานต์ ฯลฯะในลัทธิธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เราจึงรับคำในลัทธิทั้งสองเข้ามาใช้ในลักษณะของศัพท์ทางศาสนา และใช้เป็นศัพท์สามัญทั่วไปในชีวิตประจำวัน 4.ความสัมพันธ์ทางด้านวิชาการ เนื่องจากวิทยาศาสตร์และวิทยาการเจริญกว้างขวางขึ้น ทำให้คำที่เราใช้อยู่เดิมแคบเข้า จึงจำเป็นต้องรับคำบาลี สันสกฤต เข้ามาใช้ เพื่อความเจริญและความสะดวก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แพทย์ เภสัช ฯลฯ 5.ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณคดี วรรณคดีอินเดียมีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งวรรณคดีสันสกฤต และวรรณคดีที่เนื่องมาจากชาดกในพระพุทธศาสนา เมื่อเรารับเอาวรรณคดีเหล่านี้เข้ามา บทความที่ 9 ภาษาทางการเมือง ภาษาทางการเมืองเกิดได้ทุกยุคทุกสมัยและเกิดขึ้นได้ในทุกรัฐบาล แต่สำนวนเหล่านี้อาจเกิดไม่นานก็จะหมดความฮิต ยกเว้นบางคำเท่านั้นที่อมตะข้ามยุค เช่น ฝนตกห่าใหญ่ กระสุนดินดำ และคืนหมาหอน เป็นต้น ตัวอย่างภาษาทางการเมือง ถนนควายเดิน รัฐมนตรีเทกระโถนและตาดูดาวเท้าติดดินกับสำนวนอื่นๆ อีกมาก กลายเป็นขอมดำดินที่ไม่รู้จักโผล่ เทกระเป๋า หมายถึงคนใจป้ำที่จะช่วยอะไรเป็นควักเงินหมดทั้งกระเป๋า โดยการเทกระเป๋านี้เม็ดเงินอาจจะน้อยกว่าคนควักแค่ครึ่งกระเป๋าและเสี้ยวกระเป๋า สมานฉันท์ ภาคอื่นแปลว่าอะไรไม่สำคัญ แต่กลุ่มอาร์เคเคและแนวร่วมจะแปลแบบตามใจฉันว่า "มึงจะสามัคคีก็ทำไปข้างเดียว แต่กูไม่เกี่ยว เพราะเกิดมาเพื่อฆ่า"
อันเดอเทเบิ้ล
เป็นคำฮิตสดใหม่ซิงๆ นำมาเผยแพร่โดยอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ
จั่นเจาแห่ง คตส. ผู้โยนระเบิดเข้าใส่บ้านเอื้ออาทร เพราะมีเขยเจ้าสัวรับงิน "อันเดอเทเบิ้ล" ในการอนุมัติให้เอกชนสร้างบ้าน
บทความที่ 10 ภาษาทางการ
ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศสำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 |